การหาเบอร์แทนไดโอดและการเลือกใช้ไดโอดในการออกแบบวงจร (Diode)

หลักการหาเบอร์แทนไดโอด

หลักการหาเบอร์แทนไดโอดต้องพิจารณาคุณสมบัติหรือค่าทางไฟฟ้าอะไรบ้าง ?  ให้ดูหัวข้อในตารางเพื่อทำเช็คลิลส์และดูการอธิบายคำศัพท์เพิ่มเติมด้านล่าง ใช้ตารางในการเลือกและกรองคุณสมบัติของไดโอด    ค่าทางไฟฟ้าที่สำคัญอันดับแรกคือ ค่าแรงดัน    ค่ากระแส    ความเร็ว ( Speed )  และแรงดันตกคร่อม ( Vf)  ถ้าเป็นไดโอดใช้งานกับสัญญาณขนาดเล็กค่าแรงดันตกคร่อมและความเร็วจะสำคัญมาก
ให้นำเบอร์ไดโอดตัวเก่าค้นหาค่าใน Datasheet และจดค่าที่สำคัญไว้  ค่าทางไฟฟ้าของไดโอดมีทั้งค่าพีค ( Peak )  ค่า RMS และค่าเฉลี่ย ( Average Value )  หลายครั้งมีการละหน่วยไว้ว่าเป็นค่าแบบไหนคนใช้งานต้องเช็คกับ Datasheet เอง   ยกตัวอย่าง  ไดโอดเบอร์  1N4007  นิยมระบุสเปคสั้นๆว่า  1A   1000V    แล้วค่า 1A หมายถึงค่ากระแสแบบไหน ?  ค่าแรงดัน  1000V   เป็นค่าแรงดันไฟฟ้าแบบไหน ?  1A เป็นค่าเฉลี่ยใน Datasheet จะใช้คำว่า Maximum average forward rectified current  หรือ  Average Rectified Output Current : IO    ส่วนแรงดันไฟฟ้า 1000V เป็นค่าพีคซ้ำ ใน Datasheet จะใช้คำว่า  Maximum repetitive peak reverse voltage  ( VRRM ) ใช้แรงดันพัลซ์หลายลูกคลื่นทดสอบ  ( ไดโอดชนิดพิเศษเช่น โฟโต้ไดโอด ทันเนลไดโอด  TVS Diode  และแบบอื่นๆ จะต้องพิจารณาค่าพิเศษอื่นๆด้วยขึ้นอยู่กับชนิดของไดโอด  ซึ่งไม่ได้อธิบายไว้ที่นี้ )



ไดโอด  Diode


ไดโอด  Diode

-------------------------------------------------------------

เรียนรู้เบอร์อะไหล่อิเล็กฯ   เพื่อสังเกตว่าเบอร์ขึ้นต้นแบบนี้เป็นอุปกรณ์ชนิดอะไร  ?    
โดยจัดเป็นหมวดหมู่   แบ่งเป็นหมวดหมู่   เช่น  ไดโอด  มี  17  เรื่องให้อ่าน  เป็นต้น

เลือกหัวข้อต่อไปนี้ ................

1)  ไดโอด (17)       มี  17  เรื่อง 


3)  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (30)     มี   30 เรื่อง

---------------------------------------------------------------



อธิบายเพิ่มเดิมเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

ประเภทวงจรจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของไดโอด เมื่อเราทราบชื่อวงจร หลักการทำงาน บางครั้งสามารถสังเกตได้จากสเปคของอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้เคียงจะเป็นตัวบ่งชี้ประเภทวงจรได้

-   ประเภทการใช้งาน  เช่น   general purpose rectifier ,  Fast recovery  rectifier  ,  Ultra Fast recovery  rectifier ,  Efficient  Fast recovery   rectifier ,   Low Vf   rectification , High speed ,  Fast Switching , Low leakage , Small Signal ,  Power Diode , RF circuit   เป็นต้น
-   แรงดันย้อนกลับสูงสุด V ( PIV) :  Peak  Inverse  Voltage  เป็นแรงดันไบอัสกลับสูงสุดที่ไดโอดทนได้

-   แรงดันย้อนกลับสูงสุดมีค่าพีคซ้ำ ( VRRM ) : Maximum repetitive peak reverse voltage เป็นแรงดันไบอัสกลับค่าพีคซ้ำที่ไดโอดทนได้ โดยแรงดันที่ใช้ทดสอบไดโอดนี้มีหลายลูกคลื่่นหรือค่าพีคซ้ำ
-   ระดับความเร็ว ระบุหน่วยเป็น  µs (micro sec)  และ ns (nano sec ) ความเร็วมี  ระดับ Standard  ,  Fast  ,  Hyper Fast ,  Ultra Fast , Super Fast

-   Reverse Recovery Time ( trr )   เป็นระยะเวลาที่ไดโอดใช้ในการเปลี่ยนสถานะจาก ON  เป็น  OFF  เปลี่ยนขั้วจากไบอัสตรงเป็นไบอัสกลับ  ไดโอดไม่สามารถเปลี่ยนสถานะได้ทันที่ต้องใช้เวลาระดับ Micro second , nano second ในการเปลี่ยนสถานะอันเนื่องมาจากรอยต่อ PN มีพาหะข้างน้อยและอิเล็กตรอนต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่


Diode replacement   diode  selector